• 최종편집 2022-12-30(금)

ภาษาไทย
Home >  ภาษาไทย  >  งาน

실시간뉴스
  • คำแนะนำสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ต้องการหางานที่ดีกว่า,การผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1
      เมื่อวันที่ 1 เดือนมิถุนายนถึงวันที่ 21เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา(บ.หุ้นส่วนจำกัด) พาพาย่า สตอรี่ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ สำนักข่าวหลากหลายวัฒนธรรมคยองกีโด ได้ดำเนินการคัดเลือกพนักงาน. พาพาย่าสตอรี่ได้มีการวางแผนให้บริการแพลตฟอร์มด้านข้อมูลทั้งหมดสำหรับชาวต่างชาติตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมโดยให้บริการด้านภาษา ทั้งหมด 5 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, จีน เวียดนาม,รัสเซีย และไทย มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 61 คน คัดเลือกโดยผู้รับผิดชอบ ที่เหลือทั้งหมด 4 ภาษายกเว้นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครแบ่งตามภาษาได้ดังนี้ ภาษาจีน37 คน, ภาษาเวียดนาม15คน, ภาษารัฐเซีย 7 คน และภาษาไทย2 คน.ในรอบการพิจารณาเอกสาร รอบที่ 1 มีคนตกรอบ 46 คน และเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ในรอบที่ 2 จำนวน 15 คน. และในที่สุด 4 คนก็ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย อยากจะกล่าวถึงประสบการณ์ในฐานะคณะกรรมการตัดสิน ในขั้นตอนการคัดเลือกพนักงานในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้หางานชาวต่างชาติที่ต้องการหางานที่ดีกว่า   การคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 การคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 นั้น จะเป็นด่านแรกที่ผู้หางานทุกคนในเกาหลี ต้องผ่านคือการพิจารณาว่าผู้หางานมีประวัติการศึกษาและประสบการณ์ประเภทใด แน่นอนว่า ถ้าคุณเคยทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงและสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคุณจะเป็นฝ่ายได้เปรียบแต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การสะสมประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงาน และประวัติการศึกษาที่ตรงตามสายงาน งานที่พนักงานได้รับมอบหมายให้ทำที่ พาพาย่าสตอรี่คืองานแปลซึ่งถือเป็นงานหลัก รองลงมาก็คือ บริการให้คำปรึกษา,การดูแลกระทู้และการดูแลระบบสมาชิก เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ในด้านล่ามและการแปล จึงผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 ได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าคุณจะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดังในประเทศบ้านเกิด แต่คุณจะไม่สามารถผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 ไปได้หากคุณไม่มีประวัติการศึกษาหรือทำงานในเกาหลี ตัวอย่างเช่น หลังจากจบการศึกษาระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยในประเทศบ้านเกิดหญิงอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสมรสA ทำงานด้านล่ามและการแปลเป็นเวลาสองปีในบริษัทเกาหลี แต่ว่าไม่มีประวัติการทำงานในชุมชนท้องถิ่น รวมถึงศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรม ในกรณีของหญิงอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสมรสส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาที่หลากหลายผ่านศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรม เนื่องด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ทำงานด้านอาสาสมัครในชุมชนท้องถิ่นจำนวนมากดังนั้นผู้สมัคร A ที่ไม่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องจึงไม่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร แน่นอนว่าหากผู้สมัคร A มีประสบการณ์การทำงานอย่างโชกโชนในเกาหลี เธออาจจะผ่านการคัดเลือก แต่เธอไม่ได้ระบุประสบการณ์ในการทำงานอื่นๆลงไปเลย แต่ถึงแม้ว่าจะมากด้วยประสบการณ์ในชุมชนท้องถิ่น แต่ไม่มีวุฒิการศึกษาก็ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกรอบเอกสารไปได้ ผู้สมัคร B ถึงแม้เขาจะโอ้อวดว่ามีประสบการณ์ในเกาหลีในฐานะผู้สอนภาษาจีน,ผู้สอนภาษาเกาหลี,ล่ามนำเที่ยว, เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มการจ้างงาน และอื่นๆแต่ไม่มีการระบุในใบประวัติส่วนบุคคลว่าเขาเรียนโรงเรียนอะไร และเรียนอะไร ผู้สมัครท่านนี้ควรระบุไว้ในหนังสือแนะนำตัว ว่าถึงแม้จะมีวุฒิการศึกษาแต่เพราะเหตุใดถึงไม่ได้ระบุลงในประวัติส่วนบุคคล หรือเพราะเหตุใดจึงไม่มีวุฒิการศึกษา สิ่งหนึ่งที่ผู้สมัครพึงระวังในการเขียนหนังสือแนะนำตัวและ ประวัติส่วนบุคคลคือ ไม่ควรพิมพ์ผิด ผู้สมัคร C ส่งใบประวัติส่วนบุคคลโดยสะกดจาก'ฮยอนแดคอนซอล' เป็น 'ฮยอนแดคอลซอน' ซึ่งทำให้กรรมการผู้ตัดสินมึนงงกันพักใหญ่เพราะไม่เข้าใจว่าเขาต้องการสื่อถึงอะไร เช่นกันกับผู้สมัคร D ที่ถึงแม้ว่าเค้าจะมีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์อันดีเยี่ยมแต่ก็ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกในรอบเอกสารไปได้ เนื่องจากมีการพิมพ์ผิดมากเกินไป ผู้สมัครรายนี้สะกดจาก'ศูนย์ช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของชาวต่างชาติคยองกีโด' เป็น 'ศูนย์ช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของชาวต่างชาติ คย็อกกีโด' และ 'สมาคมคุณวุฒิพลเรือนระหว่างประเทศ' เป็น 'สมาคมคุณวุฒิพลเรือนขั้นสูง' นอกจากนี้ในหนังสือแนะนำตนเอง ยังมีการพิมพ์ผิดอย่างต่อเนื่อง เช่น 'ไปเรียนต่อต่างประทอศ' (ไปเรียนต่อต่างประเทศ) 'แปลหนังเสือ' (แปลหนังสือ) 'สิ่งที่ฉันเราเขียน' (สิ่งที่พวกเราเขียน) และ 'ออกมามา' (ออกมา)เป็นต้น มีการพิมพ์ผิดเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะงานที่ต้องทำการแปลเป็นส่วนใหญ่ ถ้ามีการพิมพ์ผิดในลักษณะนี้ จะต้องเกิดปัญหาใหญ่แน่นอน ดังนั้น ชาวต่างชาติที่เขียนประวัติส่วนบุคคลและหนังสือแนะนำตนเอง จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบข้อผิดพลาดในเอกสารของตนผ่านทางครอบครัว หรือ ศูนย์สวัสดิการชาวต่างชาติ หรือศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรม ยกเว้นผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร ในรอบที่ 1  ผู้สมัคร E มีประสบการณ์ในการทำงานเฉพาะในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีประสบการณ์ในด้านล่ามหรืองานแปล หรือกิจกรรม ด้านสังคมท้องถิ่น แต่ก็ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสารนั่นเพราะว่าเขาสอบผ่านการสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับประถมม.ต้นและม.ปลายในเกาหลีทั้งหมด เนื่องจากกรรมการตัดสินทราบดีว่า การที่หญิงอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสมรส สอบผ่านการสอบเทียบวุฒิการศึกษาในเกาหลีทั้งหมดนั้นยากเพียงใด เพียงแค่ผ่านการทดสอบความถนัดระดับประถม ม.ต้น และม.ปลาย ก็เห็นได้ถึงความพยายามและความจริงใจของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม บริษัทอื่นอาจไม่ได้ใช้มาตรฐานนี้ จริงอยู่ที่, ในกรณีของผู้สมัครชาวจีนอาจมีด้านที่ไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าจะมีทั้งประสบการณ์และวุฒิการศึกษา แต่ด้วยความที่มีผู้สมัครเป็นจำนวนมาก จึงมีบางกรณีที่ผู้สมัครไม่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 ภาษาจีนนั้นสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง,ปริญญาโท.เอก ,มีประสบการณ์การทำงานที่โดดเด่น และคะแนน TOEIC ในระดับสูง ฯลฯ เป็นต้น 김은혜 기자
    • ภาษาไทย
    • งาน
    2021-08-05

실시간 งาน 기사

  • รับสมัครผู้สอนที่เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมการปรับตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ย้ายถิ่นปี 2022
    สถาบันวิจัยนโยบายการย้ายถิ่นฐานกำลังสรรหาผู้สอนที่เชี่ยวชาญในโปรแกรมการปรับตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ย้ายถิ่นปี 2022 <รูปภาพนี้เป็นฉากของการเรียนโปรแกรมปรับตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ย้ายถิ่นจากการสมรส. ศูนย์ครอบครัวคิมแฮ> โปรแกรมการปรับตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ย้ายถิ่นเป็นการศึกษาบูรณาการทางสังคมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและระบบพื้นฐานของเกาหลีและการปรับตัวทางสังคมสำหรับแต่ละภาษาที่ชาวต่างชาติพูด เพื่อให้ชาวต่างชาติที่อยู่ในเกาหลีเป็นเวลานานสามารถตั้งรกรากในสังคมเกาหลี ได้อย่างมั่นคงในเบื้องต้นของการเข้าประเทศ   คัดเลือก 50 คน และให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่มีประสบการณ์ในงานพหุวัฒนธรรม, การศึกษา, หรือการบรรยายในสถาบันการศึกษา เช่น รัฐบาลและรัฐบาลท้องถิ่น, สถาบันของรัฐ, โรงเรียน เป็นต้น ▶ คุณสมบัติในการสมัคร - ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมดดังต่อไปนี้ - ชาวต่างชาติที่มาจากประเทศที่เกี่ยวข้อง - พำนักในเกาหลี 4 ปีขึ้นไป - ผู้ที่สำเร็จการศึกษาโปรแกรมการบูรณาการทางสังคม ระดับ 5 หรือ TOPIK ระดับ 5 ขึ้นไป - ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในประเทศหรือต่างประเทศ (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในเกาหลีจะพิจารณาเป็นพิเศษ) ▶ จำนวนคนที่คัดเลือก : ผู้สอนภาษาต่างประเทศ 50 คน ▶ ระยะเวลารับสมัคร: 2022.8.17.(พุธ) ~ 8.28.(อาทิตย์)   ▶ สาขาที่รับสมัคร (ตรวจสอบตารางด้านล่าง) ▶ คัดกรองเอกสารและสัมภาษณ์ (เอกสาร) 2022.8.29. - 8.30. (สัมภาษณ์) 2022.8.31. - 9.03. (การฝึกอบรม) 2022.9.05. - 9.17. ▶ วิธีสมัคร: ส่งใบสมัครทางอีเมล (supportimmigrants@mrtc.or.kr)   ▶ สอบถาม : สถาบันวิจัยนโยบายคนเข้าเมือง 02-3788-8042
    • 한국어
    • 행사
    • ภาษาไทย
    2022-08-25
  • คำแนะนำสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ต้องการหางานที่ดีกว่า,การผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1
      เมื่อวันที่ 1 เดือนมิถุนายนถึงวันที่ 21เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา(บ.หุ้นส่วนจำกัด) พาพาย่า สตอรี่ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ สำนักข่าวหลากหลายวัฒนธรรมคยองกีโด ได้ดำเนินการคัดเลือกพนักงาน. พาพาย่าสตอรี่ได้มีการวางแผนให้บริการแพลตฟอร์มด้านข้อมูลทั้งหมดสำหรับชาวต่างชาติตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมโดยให้บริการด้านภาษา ทั้งหมด 5 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, จีน เวียดนาม,รัสเซีย และไทย มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 61 คน คัดเลือกโดยผู้รับผิดชอบ ที่เหลือทั้งหมด 4 ภาษายกเว้นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครแบ่งตามภาษาได้ดังนี้ ภาษาจีน37 คน, ภาษาเวียดนาม15คน, ภาษารัฐเซีย 7 คน และภาษาไทย2 คน.ในรอบการพิจารณาเอกสาร รอบที่ 1 มีคนตกรอบ 46 คน และเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ในรอบที่ 2 จำนวน 15 คน. และในที่สุด 4 คนก็ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย อยากจะกล่าวถึงประสบการณ์ในฐานะคณะกรรมการตัดสิน ในขั้นตอนการคัดเลือกพนักงานในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้หางานชาวต่างชาติที่ต้องการหางานที่ดีกว่า   การคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 การคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 นั้น จะเป็นด่านแรกที่ผู้หางานทุกคนในเกาหลี ต้องผ่านคือการพิจารณาว่าผู้หางานมีประวัติการศึกษาและประสบการณ์ประเภทใด แน่นอนว่า ถ้าคุณเคยทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงและสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคุณจะเป็นฝ่ายได้เปรียบแต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การสะสมประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงาน และประวัติการศึกษาที่ตรงตามสายงาน งานที่พนักงานได้รับมอบหมายให้ทำที่ พาพาย่าสตอรี่คืองานแปลซึ่งถือเป็นงานหลัก รองลงมาก็คือ บริการให้คำปรึกษา,การดูแลกระทู้และการดูแลระบบสมาชิก เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ในด้านล่ามและการแปล จึงผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 ได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าคุณจะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดังในประเทศบ้านเกิด แต่คุณจะไม่สามารถผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 ไปได้หากคุณไม่มีประวัติการศึกษาหรือทำงานในเกาหลี ตัวอย่างเช่น หลังจากจบการศึกษาระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยในประเทศบ้านเกิดหญิงอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสมรสA ทำงานด้านล่ามและการแปลเป็นเวลาสองปีในบริษัทเกาหลี แต่ว่าไม่มีประวัติการทำงานในชุมชนท้องถิ่น รวมถึงศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรม ในกรณีของหญิงอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสมรสส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาที่หลากหลายผ่านศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรม เนื่องด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ทำงานด้านอาสาสมัครในชุมชนท้องถิ่นจำนวนมากดังนั้นผู้สมัคร A ที่ไม่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องจึงไม่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร แน่นอนว่าหากผู้สมัคร A มีประสบการณ์การทำงานอย่างโชกโชนในเกาหลี เธออาจจะผ่านการคัดเลือก แต่เธอไม่ได้ระบุประสบการณ์ในการทำงานอื่นๆลงไปเลย แต่ถึงแม้ว่าจะมากด้วยประสบการณ์ในชุมชนท้องถิ่น แต่ไม่มีวุฒิการศึกษาก็ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกรอบเอกสารไปได้ ผู้สมัคร B ถึงแม้เขาจะโอ้อวดว่ามีประสบการณ์ในเกาหลีในฐานะผู้สอนภาษาจีน,ผู้สอนภาษาเกาหลี,ล่ามนำเที่ยว, เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มการจ้างงาน และอื่นๆแต่ไม่มีการระบุในใบประวัติส่วนบุคคลว่าเขาเรียนโรงเรียนอะไร และเรียนอะไร ผู้สมัครท่านนี้ควรระบุไว้ในหนังสือแนะนำตัว ว่าถึงแม้จะมีวุฒิการศึกษาแต่เพราะเหตุใดถึงไม่ได้ระบุลงในประวัติส่วนบุคคล หรือเพราะเหตุใดจึงไม่มีวุฒิการศึกษา สิ่งหนึ่งที่ผู้สมัครพึงระวังในการเขียนหนังสือแนะนำตัวและ ประวัติส่วนบุคคลคือ ไม่ควรพิมพ์ผิด ผู้สมัคร C ส่งใบประวัติส่วนบุคคลโดยสะกดจาก'ฮยอนแดคอนซอล' เป็น 'ฮยอนแดคอลซอน' ซึ่งทำให้กรรมการผู้ตัดสินมึนงงกันพักใหญ่เพราะไม่เข้าใจว่าเขาต้องการสื่อถึงอะไร เช่นกันกับผู้สมัคร D ที่ถึงแม้ว่าเค้าจะมีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์อันดีเยี่ยมแต่ก็ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกในรอบเอกสารไปได้ เนื่องจากมีการพิมพ์ผิดมากเกินไป ผู้สมัครรายนี้สะกดจาก'ศูนย์ช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของชาวต่างชาติคยองกีโด' เป็น 'ศูนย์ช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของชาวต่างชาติ คย็อกกีโด' และ 'สมาคมคุณวุฒิพลเรือนระหว่างประเทศ' เป็น 'สมาคมคุณวุฒิพลเรือนขั้นสูง' นอกจากนี้ในหนังสือแนะนำตนเอง ยังมีการพิมพ์ผิดอย่างต่อเนื่อง เช่น 'ไปเรียนต่อต่างประทอศ' (ไปเรียนต่อต่างประเทศ) 'แปลหนังเสือ' (แปลหนังสือ) 'สิ่งที่ฉันเราเขียน' (สิ่งที่พวกเราเขียน) และ 'ออกมามา' (ออกมา)เป็นต้น มีการพิมพ์ผิดเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะงานที่ต้องทำการแปลเป็นส่วนใหญ่ ถ้ามีการพิมพ์ผิดในลักษณะนี้ จะต้องเกิดปัญหาใหญ่แน่นอน ดังนั้น ชาวต่างชาติที่เขียนประวัติส่วนบุคคลและหนังสือแนะนำตนเอง จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบข้อผิดพลาดในเอกสารของตนผ่านทางครอบครัว หรือ ศูนย์สวัสดิการชาวต่างชาติ หรือศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรม ยกเว้นผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร ในรอบที่ 1  ผู้สมัคร E มีประสบการณ์ในการทำงานเฉพาะในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีประสบการณ์ในด้านล่ามหรืองานแปล หรือกิจกรรม ด้านสังคมท้องถิ่น แต่ก็ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสารนั่นเพราะว่าเขาสอบผ่านการสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับประถมม.ต้นและม.ปลายในเกาหลีทั้งหมด เนื่องจากกรรมการตัดสินทราบดีว่า การที่หญิงอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสมรส สอบผ่านการสอบเทียบวุฒิการศึกษาในเกาหลีทั้งหมดนั้นยากเพียงใด เพียงแค่ผ่านการทดสอบความถนัดระดับประถม ม.ต้น และม.ปลาย ก็เห็นได้ถึงความพยายามและความจริงใจของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม บริษัทอื่นอาจไม่ได้ใช้มาตรฐานนี้ จริงอยู่ที่, ในกรณีของผู้สมัครชาวจีนอาจมีด้านที่ไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าจะมีทั้งประสบการณ์และวุฒิการศึกษา แต่ด้วยความที่มีผู้สมัครเป็นจำนวนมาก จึงมีบางกรณีที่ผู้สมัครไม่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบเอกสาร รอบที่ 1 ภาษาจีนนั้นสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง,ปริญญาโท.เอก ,มีประสบการณ์การทำงานที่โดดเด่น และคะแนน TOEIC ในระดับสูง ฯลฯ เป็นต้น 김은혜 기자
    • ภาษาไทย
    • งาน
    2021-08-05
  • เด็กที่เข้ามาในประเทศ พวกเขาเป็นใคร?
    <한국어 http://www.danews.kr/news/view.php?no=5889>   หลายคนที่เคยได้ยินเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างประเทศ และ ครอบครัวทามุนฮวาคาจอง  อย่างไรก็ตาม มันไม่คุ้นเคยกับคำว่าเยาวชนระดับกลางหรือไม่?   ผู้ย้ายถิ่นฐานที่แต่งงานใหม่กับคู่สมรสชาวเกาหลี และ นำบุตรจากการแต่งงานครั้งแรกมายังเกาหลี และ บุตรที่แต่งงานระหว่างประเทศที่เติบโตในประเทศบ้านเกิดของพ่อแม่ และ กลับเข้าเกาหลีเมื่ออายุเข้าเรียนในหลายกรณีกล่าวถึงเยาวชนที่มีรายได้ปานกลาง เช่นเมื่อผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือหญิง หรือ ชายที่นำเด็กที่เกิดในประเทศที่3 ระหว่างคู่สมรสชาวต่างชาติ ขณะนี้อายุของเยาวชนที่เข้าสู่เกาหลีลดลงพวกเขาจึงถูกเรียกว่าเด็กที่มีรายได้ปานกลางมากกว่าเยาวชนที่มีรายได้ปานกลาง   เด็กที่เข้ามาในประเทศมีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยทั่วไปแล้วเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกิดในเกาหลีจะคิดว่าพวกเขาเป็นชาวเกาหลี เพื่อนเหล่านี้เกิดที่เกาหลีพูดภาษาเกาหลีและมีเอกลักษณ์ของเกาหลี ในทางกลับกันในกรณีของเด็กที่เข้ามาในประเทศพวกเขามักจะมีสัญชาติของประเทศที่เกิดไม่ใช่คนเกาหลีจากนั้นจะได้รับสัญชาติเกาหลีผ่านการทดสอบการโอนสัญชาติ ดังนั้น เอกลักษณ์ของประเทศที่ฉันเกิดและเติบโตจึงค่อนข้างใหญ่กว่าเกาหลีดังนั้นภาษาวัฒนธรรมและชีวิตของเกาหลีจึงน่าอึดอัด  อย่างไรก็ตามเด็กส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ามาในประเทศเกาหลีด้วยความตั้งใจที่จะไปตั้งรกรากในเกาหลี อย่างไรก็ตามพวกเขามักรู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ และ แปลกแยกเนื่องจากรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่ และ ภาษาเกาหลีที่น่าอึดอัด ถึงแม้ว่าพวกเขามีตัวตนของเหมือนเกาหลี แต่ พวกเขาจะถือว่าเป็นชาวต่างชาติเพราะการออกเสียงและ สำเนียงในภาษาไม่ดีของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังพบกับการเลือกปฏิบัติในช่วงอายุก่อนที่จะมีการสร้างตัวตนและพวกเขารู้สึกสับสนและกังวลเกี่ยวกับตัวตนของพวกเขาเนื่องจากความรู้สึกแปลกแยกที่พวกเขาไม่ได้อยู่ที่ใด ฉันทำเช่นเดียวกัน ก่อนมาเกาหลีฉันมีบุคลิกที่กระตือรือร้นมีมิตรภาพที่ดีและมีความสนใจในการเรียน แต่หลังจากเข้าโรงเรียนเกาหลีฉันก็มีอารมณ์ไม่มั่นคง ความมั่นใจของฉันต่ำ และ ฉันพูดภาษาเกาหลีไม่ได้ ดังนั้น ฉันจึงไม่สามารถพูดถึงการทำผิด หรือ ถูกแกล้งได้ ฉันกลัวที่จะพูดต่อหน้าคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดการเรียนรู้ที่เกิดจากการไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในโรงเรียนได้สะสม และ ส่งผลกระทบแม้กระทั่งในส่วนของอารมณ์ ดังนั้น ในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์เติบโตขึ้นหลังจากเข้ามาในเกาหลีฉันคิดว่าควรสนับสนุนการพิจารณาทางสังคม และ การสนับสนุนด้านสวัสดิการเพื่อให้เด็ก ๆ ที่เข้ามาในประเทศสามารถปรับตัว และ ใช้ชีวิตในเกาหลีได้เป็นอย่างดี จนถึงตอนนี้ฉันต้องดิ้นรนอย่างมากเพราะเรื่องภาษาในขณะที่อาศัยอยู่ในเกาหลีในฐานะเด็กที่เข้ามาในประเทศ ดังนั้น ฉันหวังว่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่เด็ก ๆ สามารถเรียนภาษาเกาหลีจะได้รับการจัดตั้งขึ้นในทุกภูมิภาคและควรจ้างครูสองภาษาให้มากขึ้น สังคมเกาหลีไม่ควรละทิ้งอคติและอคติต่อเด็กที่เข้ามาในประเทศและถือว่าพวกเขาเป็นเป้าหมายที่น่าสงสารเพื่อช่วยเหลือพวกเขา แต่ควรใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีวุฒิภาวะมากขึ้นผ่านเด็กเหล่านี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าพวกเขาจะมีบทบาทอย่างไรในเกาหลีในอนาคตและจะช่วยเหลืออย่างไร มันจะเป็นทรัพยากรทางสังคมที่ช่วยได้มากสำหรับประเทศของเราหากเราช่วยเด็ก ๆ ที่เข้ามาในตะวันออกกลางเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของชาวเกาหลีและรักษาเอกลักษณ์ของประเทศที่พวกเขาเกิดและเติบโต
    • ภาษาไทย
    • งาน
    2021-03-08
비밀번호 :